วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อการวิจัยทางนวัตกรรมทางการศึึกษา

บทคัดย่อ

การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติที่มีคุณภาพในส่วนที่เกี่ยวกับการเล่นกีฬา จะช่วยให้การให้คะแนนของครูผู้สอนมีความถูกต้องและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอลที่มีคุณภาพ และเพื่อหาคุณภาพแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 168 คน จากโรงเรียน 4 โรง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดภาคปฏิบัติ 2 ชนิด คือ แบบสังเกตภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล 1 ฉบับ มี 6 ตอน ประกอบด้วย การเล่นลูกสองมือล่าง การเล่นลูกสองมือบน การเสิร์ฟ การเล่นลูกเหนือตาข่าย การสกัดกั้นและการเล่นเป็นทีม จำนวน 101 ข้อ แต่ละตอนแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติ ขั้นผลงาน ขั้นกิจนิสัย และแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจชนิดตอบสั้นๆ 1 ฉบับ จำนวน 18 ข้อ ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 3 ครั้ง ทดลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เพื่อนำผลไปปรับปรุงแบบวัดภาคปฏิบัติ ส่วนทดลองครั้งที่ 3 เพื่อหาคุณภาพของแบบวัดภาคปฏิบัติ

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. แบบสังเกตภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอลทั้ง 6 ตอน ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย ตั้งแต่ 0.690-0.740 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสังเกต ตั้งแต่ 0.992-0.998 และค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างทั้ง 6 ตอน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. แบบทดสอบชนิดตอบสั้นๆ ทั้ง 6 ตอน มีค่าความยากเฉลี่ยตั้งแต่ 0.540-0.610 ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยตั้งแต่ 0.700-0.770 ค่าความเชื่อมั่น ตั้งแต่ 0.910-0.940 และค่าความเชื่อมั่นของผู้ตรวจให้คะแนน 3 คน ตั้งแต่ 0.983-0.993

3. ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างแบบสังเกตและแบบทดสอบชนิดตอบสั้นๆ ทั้ง 6 ตอน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

โดยสรุปผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้แบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอลที่มีคุณภาพซึ่งสามารถนำไปใช้วัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ได้


บรรณานุกรม

สังคม พื้นชมภู.(2547). การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศึกษาและพลศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม


สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการทำงานในครั้งนี้

1. รู้วิธีการเขียนบทคัดย่อ ว่าต้องประกอบไปด้วย

- ชื่อเรื่อง

- ผู้วิจัย

- อาจารย์ที่ปรึกษา/กรรมการผู้ควบคุม

- ปริญญา/สาขา

- มหาวิทยาลัย/สถานที่ที่ดำเนินการ

- ปีที่พิมพ์

- บทคัดย่อ

2. ในบทคัดย่อประกอบด้วย

- บทที่ 1 บทนำ

- บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- บทที่ 3 วิธีดำเนินการค้นคว้า

- บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

- บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

โดยนำเนื้อหาทั้ง 5 บทมาสรุปเป็นความเรียงให้ได้ใจความครอบคลุมทั้งหมด


จากเนื้อเรื่องได้รับความรู้อะไรบ้าง

- การเขียนบทนำหรือภูมิหลังของเรื่องที่เราศึกษาค้นคว้า

- การเขียนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- การเขียนวิธีดำเนินการค้นคว้า

- การเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล

- การเขียนความเรียงเป็นบทคัดย่อ

- การเขียนบรรณานุกรม

- การเขียนหัวเรื่องบทคัดย่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น