วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 1 ดังนี้

ความหมายของ ข้อมูล สารสนเทศ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน

สารสนเทศ คือ การนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผล ได้เป็นข้อมูลสารสนเทศนำไปใช้ประโยชน์ได้

ระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่จะนำมาใช้ในองค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์นำมาจัดเก็บ ประมวลผล นำเสนอในรูปแบบการนำไปใช้ประโยชน์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ เสียง ฯลฯ

คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

ต้องมีความถูกต้องเชื่อถือได้

ตรวจสอบได้

ต้องสมบูรณ์

ทันต่อการใช้งานหรือทันเวลา

กะทัดรัด

ตรงตามความต้องการ

การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ

การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศนั้น ในระดับต่างๆ ในองค์กรจะมีความต้องการสารสนเทศที่ต่างกัน โดยจะเป็นในรูปของปิรามิด จึงทำให้การทำงานในแต่ละระดับต่างกัน

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

1. วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เน้นการเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร และเน้นประโยชน์แก่ผู้ใช้สารสนเทศโดยตรง

2. ข้อควรคำนึงในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ คือ การได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี การคำนวนการเสียโอกาสเพราะไม่มีสารสนเทศ การใช้ประโยชน์จากสารสนเทศต้องขึ้นอยู่กับการจัดองค์กรที่ดีการนำการจัดการทรัพยากรสารสนเทศมาช่วยในงานด้านต่างๆ


บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 2 ดังนี้

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 3 ด้าน คือ

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษานั้น ทำให้การเรียนการสอนมีความทันสมัยขึ้น โดยความรู้ที่ผู้เรียนจะได้นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน ผู้เรียนยังสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้เองจากโลกอินเตอร์เน็ต เช่น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ได้ความรู้ที่ต้องการ

ห้องสมุดเสมือน

ห้องสมุดเสมือนเป็นแหล่งรวมสื่อดิจิตอลประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพ และเสียง ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้ามาสืบค้นได้ไม่ว่าจะเป็น วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็สามารถเข้ามาสืบค้นได้ตลอดเวลา

บทบาทของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับการสนับสนุนการศึกษา

1. การศึกษาทางไกล เนื่องจากจัดการการศึกษาให้ประชาชนได้ไม่ทั่วถึง จึงทำให้เกิดการศึกษาทางไกล เช่น โรงเรียนวังไกลกังวล เป็นโรงเรียนที่มีสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมที่เป็นสื่อการสอน

2. การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนส์ เป็นการเรียนการสอนที่มีลักษณะโต้ตอบกันได้ โดยสามารถรับส่ง สัญญาณภาพและเสียงต่อกันได้ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คือโคเดค จอภาพ กล้อง ระบบเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ ชุดควบคุมการทำงาน เครือข่ายสัญญาณ

3. ระบบการเรียนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซี่งผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาความรู้ตามที่สนใจได้ โดยเนื้อหาจะเป็นในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งผู้สอนจะจัดใส่เนื้อหา ไฟล์งาน ลิ้งค์เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางบราวเซอร์ไปยังผู้เรียน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยผู้สอนยังสามารถติดตามการเรียนของผู้เรียนด้วยได้อีกด้วย

4. ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นตัวสอนให้กับผู้เรียน ซึ่งเนื้อหาวิชาจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย อีกทั้งยังอาศัยจิตวิทยาเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้

5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ถูกนำเสนอในจอคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก สามารถลิ้งค์ไปยังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้โดยอาศัยบนอยู่เครือข่ายเดียวกัน

นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ

นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาการศึกษา วิชาการ ความรู้ด้านต่าง รวมถึงผู้สอน โดยมีการฝึกอบรมทั้งวิชาการและทักษะ เพื่อพัฒนาคนในประเทศซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ให้มีคุณภาพ และนำไปพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไ

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2550-2554

การทำแผนแม่บทโดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ผู้เรียน ผู้สอน บุคคลากรทางการศึกษาและประชาชน ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทของผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา

พัฒนาบุคลกรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ส่งเสริมการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น