วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3

บทที่ 7 คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันนั้นถึงแม้จะสร้างผลดีให้กับสังคมเป็นอย่างมาก แต่ผลกระทบในทางลบก็มีเช่นกัน ดังนั้นผู้บริหารสถาบันทางการศึกษาควรจะศึกษาและจำเป็นต้องทราบตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยผู้บริหารสถาบันทางการศึกษาจะต้องประพฤติตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยี จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ควรคำนึงถึง 10 ประการ และจรรยาบรรณเกี่ยวกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ แฟ้มข้อมูล และการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพสินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญและแจ้งให้บุคคลากรภายในสถานศึกษานั้นๆ ทราบถึงกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีให้ได้ทราบโดยทั่วกัน

บทที่ 8 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันการศึกษาในอนาคต

ผู้บริการสถาบันการศึกษาต้องมีวิธีที่จะจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้รองรับสำหรับอนาคตได้ หรือการเติบโตในอนาคตได้ ควรมีการปรับตัวดังนี้คือ การปรับโครงสร้างองค์กรจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างแบบเครือข่าย

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการศึกษาซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรการศึกษา มี 5 ลักษณะ คือ การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์กร การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือในการทำงาน เป็นการเพิ่มผลผลิตของงานและใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร

ในอนาคตนั้น คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย และราคาก็จะถูกลง สามารถตัดสินใจได้เหมือนมนุษย์ (AI) มีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น การประชุมทางไกลและมีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การจัดลำดับของงาน การควบคุม การสั่งการ การรายงาน และการจัดทำงบประมาณ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตลอดเวลา ต้องทำความเข้าใจ ผลกระทบของเทคโนโลยี จัดระบบ และวางแผนที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 3 ดังนี้

เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจการศึกษาสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษา จึงสร้างความมั่นใจว่าสถานศึกษาในท้องถิ่นจัดการการศึกษาได้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน โดยมีระบบประกันคุณภาพให้เป็นมาตรฐาน เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

หลักการ

1. การประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ควบคู่กับการกระจายอำนาจทางการศึกษาเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงงาน

2. มาตรฐานการศึกษา ต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เน้นกระบวนการ ความหลากหลาย ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ บริหารการศึกษาโดยสถานศึกษาเป็นสำคัญ

3. การประกันคุณภาพมีภารกิจหลัก 4 ส่วนคือ การกำหนดมาตรฐาน การประเมินคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพภายนอก การนำผลจากการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกไปปรับปรุง

4. จัดการการศึกษาตามมาตรฐานได้จริง

5. หลักการกระจายอำนาจต้องคล่องตัวและต้องกล้าตัดสินใจ

6. หลักการความรับผิดชอบตรวจสอบได้ สถานศึกษาต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายและมีจุดเน้นที่ต้องพัฒนา

7. หลักการมีส่วนร่วมในการทำงาน

ระบบการประกันคุณภาพตามบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษา

1. ความหมายของระบบและกลไก ระบบคือ การรวบรวมองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันตามหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์บางประการ ในระบบประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า ขบวนการ ผลลัพธ์และผลสะท้อนกลับ ระบบประกันคุณภาพคือ ขั้นตอนการดำเนินต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

2. ลักษณะของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีในหมวดมาตรการ 47 หมายถึงการประเมินผลและติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคคลของสถานศึกษา โดยหน่วยงานด้านสังกัดมีหน้าที่ดูแล ส่วนระบบประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผล ติดตามผล ตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาภายนอก

3. ขบวนการประกันคุณภาพการศึกษา มีการตรวจคุณภาพ หมายถึง การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์กรประกอบคุณภาพ

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 4 ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมสารสนเทศ พัฒนาสื่อสารโทรคมนาคมสะดวกขึ้นมาก อุปกรณ์ด้านต่างๆ ราคาถูกลงมาก ระบบธุรกิจที่มีการลงทุนใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม

- ทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดี

- ทำงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง ประหยัด

- ช่วยส่งเสริมด้านการแพทย์ การเรียน

ผลกระทบต่อสังคมในแง่ลบ

- สร้างความขัดแย้งทางด้านความคิด

- ก่อให้เกิดอาชญากรรมด้านคอมพิวเตอร์

- การจ้างงานน้อยลงมี IT มาทดแทนแรงงาน

เทคโนโลยีสมัยใหม่

การพัฒนาประเทศให้ดีต้องเริ่มจากการพัฒนาคนให้มีความรู้ก่อน โดยความรู้คือทุน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด

การจัดการการเรียนรู้

คือกระบวนการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วม มีการแสดงความคิดเห็นประสบการณ์ได้อย่างเปิดเผย ต่อเนื่อง ตรงไปตรงมา เพื่อพัฒนาองค์กร

ในระบบสังคมบนพื้นฐานขององค์กรความรู้มีองค์ประกอบ 3 ประการ

- ศักยภาพการแข่งขันต้องพัฒนาระบบองค์ความรู้ คือ ภูมิปัญญาจากประสบการณ์หรือความชำนาญ และองค์ความรู้ที่เป็นระบบสามารถนำมาใช้งาน

- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาองค์ความรู้ นับตั้งแต่การจัดเก็บ วิเคราะห์ การใช้งาน การถ่ายทอดความรู้ - ทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์มีความรู้ในการบริหารจัดการ

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มี 3 กระบวนการ

การวิเคราะห์กลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์องค์กรจะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินทางธุรกิจ

การจัดทำกลยุทธ์เป็นการนำผลจากการวิเคราะห์กลยุทธ์มาจัดทำ

การนำกลยุทธ์ไปใช้ เน้นในส่วนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดผลกระทบองค์ดังนี้

ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานขององค์กร

สนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผน

สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานหลายๆ ด้าน ช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น

4. ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้

เพิ่มปริมาณการขาย

ลดต้นทุนการผลิต

เพิ่มผลผลิต

เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ

เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร ดังนี้

1. ด้านเทคโนโลยี เช่น ลดขั้นตอนการทำงาน

2. บทบาทของบุคคลมีเครื่องมือและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่

3. โครงสร้างปรับใหม่ให้สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยี

4. กระบวนการจัดการดำเนินงานอาศัยความได้เปรียบเชิงความรู้ คือ บุคลากรต้องมีความรู้

5. กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญเชิงกลยุทธ์

การเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงมีดังนี้

1. เสียค่าใช้จ่ายสูง

2. การพัฒนาจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง

3. การพัฒนามีความเสี่ยง

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 5 ดังนี้

นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เรียนเรียนรู้รวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดแรงจูงใจ ประหยัดเวลา

ประเภทของนวัตกรรม ได้แก่

นวัตกรรมด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการสอน การประเมินผลการบริหารจัดการ

ขอบข่ายของนวัตกรรมมีรายละเอียดดังนี้

สอนด้วยวิธีใหม่ๆ เทคนิกใหม่ๆ สื่อใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ออกแบบหลักสูตรใหม่ วัดผลแบบใหม่

แนวคิดพื้นฐาน

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล

2. ความพร้อม เด็กพร้อมน้อยพร้อมมาก ไม่เป็นอะไรจัดบทเรียนให้เหมาะสม

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา จัดเป็นหน่วยเวลาสอน

4. ประสิทธิภาพในการเรียน มีการขยายตัวทางวิชาการ การเปลี่ยนแปลงของสังคม

องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม

1. โครงสร้างองค์กร

บุคคลากร

กระบวนการ

กลยุทธ์และยุทธวิธี

เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา 3 ระดับ

1. ความเป็นเลิศของบุคคล

2. ความเป็นเลิศทางวิชาการ

3. ความเป็นเลิศขององค์กร

4. หลักนวัตกรรม

นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด เป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การมีประสิทธิภาพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับนวัตกรรม และยังต้องเผยแพร่ต่อบุคคลอื่น

กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา

1 ต้องสร้างความตระหนักถึงความจำเป็น

จุดประการนวัตกรรม โดยฝึกงานบ่อยๆ

การสร้างนวัตกรรม

การนำเอานวัตกรรมไปใช้

แนวโน้มและการใช้นวัตกรรมใหม่

แนวโน้มในอนาคต คือเริ่มจากการพัฒนาคนในองค์กรสถานศึกษาให้มีความรู้ แนวคิด สติปัญญา และจัดโครงสร้าง ออกแบบให้มีความสอดคล้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม โดยเริ่มตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับทีม ระดับองค์กร ริเริ่มให้คนในองค์กรมีความคิด เริ่มจินตนาการ

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 6 ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์

1. ความหมายของการเรียนการสอนบนเว็บ คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัย Internet โดยใช้ โปรโตคอล TCP/IP, HTTPS ในการถ่ายโอนข้อมูล โดยนำเสนอในสื่อที่เรียกว่า Hyper media ที่สามารถนำเสนอได้หลายมิติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถเรียนได้ ทำให้สามารถเรียนได้ในทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เพียงแค่เรียนผ่าน Internet

2. คุณสมบัติของการเรียนการสอนบนเว็บ คือการที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตัวเองได้ โดยเราสามารถเลือกหาบทเรียนที่ตนจะเรียนในรูปแบบ ไฮเปอร์มีเดีย ซึ่งเป็นเทคนิกในการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาหลักและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันหรืออาจจะเป็นภาพหรือเสียงที่เกี่ยวข้อง และคุณสมบัติการเรียนการสอนบนเว็บเราสามารถ ติดต่อกับผู้สอนโดยที่ไม่ต้องอยู่ในเวลาเดียวกัน เช่นอาจโพสคำถามตามกระทู้ เพื่อให้ผู้สอนเข้ามาตอบ

บทเรียนออนไลน์

เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะเป็นลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต สัญญาณดาวเทียม ฯลฯ

โมบายเลิร์นนิ่ง

เป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning คือเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย m-learning คือการศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์ไร้สาย เช่น มือถือ เน้นกิจกรรมที่เป็นกลุ่ม เช่น ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและครูผู้สอน สามารถส่งเป็นข้อมูล เสียง ภาพ มัลติมีเดีย ฯลฯ

สวนดุสิตอินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง

เป็นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย บริการเผยแพร่ความรู้ และให้บริการวิชาการสู่สังคม

ห้องสมุดเสมือน

ทำขึ้นมาเพื่อทำให้การสืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ประโยชน์ในการสอน ทั้งยังเป็นแหล่งความรู้เพื่อที่นักศึกษาจะได้หาได้ด้วยตนเอง เพื่อในการหาความรู้ ทำรายงาน

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 1 ดังนี้

ความหมายของ ข้อมูล สารสนเทศ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน

สารสนเทศ คือ การนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผล ได้เป็นข้อมูลสารสนเทศนำไปใช้ประโยชน์ได้

ระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่จะนำมาใช้ในองค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์นำมาจัดเก็บ ประมวลผล นำเสนอในรูปแบบการนำไปใช้ประโยชน์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ เสียง ฯลฯ

คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

ต้องมีความถูกต้องเชื่อถือได้

ตรวจสอบได้

ต้องสมบูรณ์

ทันต่อการใช้งานหรือทันเวลา

กะทัดรัด

ตรงตามความต้องการ

การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ

การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศนั้น ในระดับต่างๆ ในองค์กรจะมีความต้องการสารสนเทศที่ต่างกัน โดยจะเป็นในรูปของปิรามิด จึงทำให้การทำงานในแต่ละระดับต่างกัน

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

1. วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เน้นการเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร และเน้นประโยชน์แก่ผู้ใช้สารสนเทศโดยตรง

2. ข้อควรคำนึงในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ คือ การได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี การคำนวนการเสียโอกาสเพราะไม่มีสารสนเทศ การใช้ประโยชน์จากสารสนเทศต้องขึ้นอยู่กับการจัดองค์กรที่ดีการนำการจัดการทรัพยากรสารสนเทศมาช่วยในงานด้านต่างๆ


บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 2 ดังนี้

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 3 ด้าน คือ

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษานั้น ทำให้การเรียนการสอนมีความทันสมัยขึ้น โดยความรู้ที่ผู้เรียนจะได้นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน ผู้เรียนยังสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้เองจากโลกอินเตอร์เน็ต เช่น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ได้ความรู้ที่ต้องการ

ห้องสมุดเสมือน

ห้องสมุดเสมือนเป็นแหล่งรวมสื่อดิจิตอลประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพ และเสียง ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้ามาสืบค้นได้ไม่ว่าจะเป็น วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็สามารถเข้ามาสืบค้นได้ตลอดเวลา

บทบาทของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับการสนับสนุนการศึกษา

1. การศึกษาทางไกล เนื่องจากจัดการการศึกษาให้ประชาชนได้ไม่ทั่วถึง จึงทำให้เกิดการศึกษาทางไกล เช่น โรงเรียนวังไกลกังวล เป็นโรงเรียนที่มีสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมที่เป็นสื่อการสอน

2. การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนส์ เป็นการเรียนการสอนที่มีลักษณะโต้ตอบกันได้ โดยสามารถรับส่ง สัญญาณภาพและเสียงต่อกันได้ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คือโคเดค จอภาพ กล้อง ระบบเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ ชุดควบคุมการทำงาน เครือข่ายสัญญาณ

3. ระบบการเรียนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซี่งผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาความรู้ตามที่สนใจได้ โดยเนื้อหาจะเป็นในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งผู้สอนจะจัดใส่เนื้อหา ไฟล์งาน ลิ้งค์เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางบราวเซอร์ไปยังผู้เรียน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยผู้สอนยังสามารถติดตามการเรียนของผู้เรียนด้วยได้อีกด้วย

4. ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นตัวสอนให้กับผู้เรียน ซึ่งเนื้อหาวิชาจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย อีกทั้งยังอาศัยจิตวิทยาเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้

5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ถูกนำเสนอในจอคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก สามารถลิ้งค์ไปยังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้โดยอาศัยบนอยู่เครือข่ายเดียวกัน

นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ

นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาการศึกษา วิชาการ ความรู้ด้านต่าง รวมถึงผู้สอน โดยมีการฝึกอบรมทั้งวิชาการและทักษะ เพื่อพัฒนาคนในประเทศซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ให้มีคุณภาพ และนำไปพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไ

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2550-2554

การทำแผนแม่บทโดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ผู้เรียน ผู้สอน บุคคลากรทางการศึกษาและประชาชน ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทของผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา

พัฒนาบุคลกรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ส่งเสริมการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา

บทคัดย่อการวิจัยทางนวัตกรรมทางการศึึกษา

บทคัดย่อ

การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติที่มีคุณภาพในส่วนที่เกี่ยวกับการเล่นกีฬา จะช่วยให้การให้คะแนนของครูผู้สอนมีความถูกต้องและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอลที่มีคุณภาพ และเพื่อหาคุณภาพแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 168 คน จากโรงเรียน 4 โรง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดภาคปฏิบัติ 2 ชนิด คือ แบบสังเกตภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล 1 ฉบับ มี 6 ตอน ประกอบด้วย การเล่นลูกสองมือล่าง การเล่นลูกสองมือบน การเสิร์ฟ การเล่นลูกเหนือตาข่าย การสกัดกั้นและการเล่นเป็นทีม จำนวน 101 ข้อ แต่ละตอนแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติ ขั้นผลงาน ขั้นกิจนิสัย และแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจชนิดตอบสั้นๆ 1 ฉบับ จำนวน 18 ข้อ ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 3 ครั้ง ทดลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เพื่อนำผลไปปรับปรุงแบบวัดภาคปฏิบัติ ส่วนทดลองครั้งที่ 3 เพื่อหาคุณภาพของแบบวัดภาคปฏิบัติ

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. แบบสังเกตภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอลทั้ง 6 ตอน ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย ตั้งแต่ 0.690-0.740 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสังเกต ตั้งแต่ 0.992-0.998 และค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างทั้ง 6 ตอน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. แบบทดสอบชนิดตอบสั้นๆ ทั้ง 6 ตอน มีค่าความยากเฉลี่ยตั้งแต่ 0.540-0.610 ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยตั้งแต่ 0.700-0.770 ค่าความเชื่อมั่น ตั้งแต่ 0.910-0.940 และค่าความเชื่อมั่นของผู้ตรวจให้คะแนน 3 คน ตั้งแต่ 0.983-0.993

3. ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างแบบสังเกตและแบบทดสอบชนิดตอบสั้นๆ ทั้ง 6 ตอน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

โดยสรุปผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้แบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอลที่มีคุณภาพซึ่งสามารถนำไปใช้วัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ได้


บรรณานุกรม

สังคม พื้นชมภู.(2547). การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศึกษาและพลศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม


สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการทำงานในครั้งนี้

1. รู้วิธีการเขียนบทคัดย่อ ว่าต้องประกอบไปด้วย

- ชื่อเรื่อง

- ผู้วิจัย

- อาจารย์ที่ปรึกษา/กรรมการผู้ควบคุม

- ปริญญา/สาขา

- มหาวิทยาลัย/สถานที่ที่ดำเนินการ

- ปีที่พิมพ์

- บทคัดย่อ

2. ในบทคัดย่อประกอบด้วย

- บทที่ 1 บทนำ

- บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- บทที่ 3 วิธีดำเนินการค้นคว้า

- บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

- บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

โดยนำเนื้อหาทั้ง 5 บทมาสรุปเป็นความเรียงให้ได้ใจความครอบคลุมทั้งหมด


จากเนื้อเรื่องได้รับความรู้อะไรบ้าง

- การเขียนบทนำหรือภูมิหลังของเรื่องที่เราศึกษาค้นคว้า

- การเขียนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- การเขียนวิธีดำเนินการค้นคว้า

- การเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล

- การเขียนความเรียงเป็นบทคัดย่อ

- การเขียนบรรณานุกรม

- การเขียนหัวเรื่องบทคัดย่อ