วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 3 ดังนี้

เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจการศึกษาสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษา จึงสร้างความมั่นใจว่าสถานศึกษาในท้องถิ่นจัดการการศึกษาได้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน โดยมีระบบประกันคุณภาพให้เป็นมาตรฐาน เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

หลักการ

1. การประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ควบคู่กับการกระจายอำนาจทางการศึกษาเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงงาน

2. มาตรฐานการศึกษา ต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เน้นกระบวนการ ความหลากหลาย ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ บริหารการศึกษาโดยสถานศึกษาเป็นสำคัญ

3. การประกันคุณภาพมีภารกิจหลัก 4 ส่วนคือ การกำหนดมาตรฐาน การประเมินคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพภายนอก การนำผลจากการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกไปปรับปรุง

4. จัดการการศึกษาตามมาตรฐานได้จริง

5. หลักการกระจายอำนาจต้องคล่องตัวและต้องกล้าตัดสินใจ

6. หลักการความรับผิดชอบตรวจสอบได้ สถานศึกษาต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายและมีจุดเน้นที่ต้องพัฒนา

7. หลักการมีส่วนร่วมในการทำงาน

ระบบการประกันคุณภาพตามบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษา

1. ความหมายของระบบและกลไก ระบบคือ การรวบรวมองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันตามหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์บางประการ ในระบบประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า ขบวนการ ผลลัพธ์และผลสะท้อนกลับ ระบบประกันคุณภาพคือ ขั้นตอนการดำเนินต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

2. ลักษณะของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีในหมวดมาตรการ 47 หมายถึงการประเมินผลและติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคคลของสถานศึกษา โดยหน่วยงานด้านสังกัดมีหน้าที่ดูแล ส่วนระบบประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผล ติดตามผล ตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาภายนอก

3. ขบวนการประกันคุณภาพการศึกษา มีการตรวจคุณภาพ หมายถึง การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์กรประกอบคุณภาพ

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 4 ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมสารสนเทศ พัฒนาสื่อสารโทรคมนาคมสะดวกขึ้นมาก อุปกรณ์ด้านต่างๆ ราคาถูกลงมาก ระบบธุรกิจที่มีการลงทุนใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม

- ทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดี

- ทำงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง ประหยัด

- ช่วยส่งเสริมด้านการแพทย์ การเรียน

ผลกระทบต่อสังคมในแง่ลบ

- สร้างความขัดแย้งทางด้านความคิด

- ก่อให้เกิดอาชญากรรมด้านคอมพิวเตอร์

- การจ้างงานน้อยลงมี IT มาทดแทนแรงงาน

เทคโนโลยีสมัยใหม่

การพัฒนาประเทศให้ดีต้องเริ่มจากการพัฒนาคนให้มีความรู้ก่อน โดยความรู้คือทุน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด

การจัดการการเรียนรู้

คือกระบวนการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วม มีการแสดงความคิดเห็นประสบการณ์ได้อย่างเปิดเผย ต่อเนื่อง ตรงไปตรงมา เพื่อพัฒนาองค์กร

ในระบบสังคมบนพื้นฐานขององค์กรความรู้มีองค์ประกอบ 3 ประการ

- ศักยภาพการแข่งขันต้องพัฒนาระบบองค์ความรู้ คือ ภูมิปัญญาจากประสบการณ์หรือความชำนาญ และองค์ความรู้ที่เป็นระบบสามารถนำมาใช้งาน

- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาองค์ความรู้ นับตั้งแต่การจัดเก็บ วิเคราะห์ การใช้งาน การถ่ายทอดความรู้ - ทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์มีความรู้ในการบริหารจัดการ

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มี 3 กระบวนการ

การวิเคราะห์กลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์องค์กรจะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินทางธุรกิจ

การจัดทำกลยุทธ์เป็นการนำผลจากการวิเคราะห์กลยุทธ์มาจัดทำ

การนำกลยุทธ์ไปใช้ เน้นในส่วนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดผลกระทบองค์ดังนี้

ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานขององค์กร

สนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผน

สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานหลายๆ ด้าน ช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น

4. ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้

เพิ่มปริมาณการขาย

ลดต้นทุนการผลิต

เพิ่มผลผลิต

เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ

เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร ดังนี้

1. ด้านเทคโนโลยี เช่น ลดขั้นตอนการทำงาน

2. บทบาทของบุคคลมีเครื่องมือและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่

3. โครงสร้างปรับใหม่ให้สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยี

4. กระบวนการจัดการดำเนินงานอาศัยความได้เปรียบเชิงความรู้ คือ บุคลากรต้องมีความรู้

5. กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญเชิงกลยุทธ์

การเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงมีดังนี้

1. เสียค่าใช้จ่ายสูง

2. การพัฒนาจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง

3. การพัฒนามีความเสี่ยง

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 5 ดังนี้

นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เรียนเรียนรู้รวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดแรงจูงใจ ประหยัดเวลา

ประเภทของนวัตกรรม ได้แก่

นวัตกรรมด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการสอน การประเมินผลการบริหารจัดการ

ขอบข่ายของนวัตกรรมมีรายละเอียดดังนี้

สอนด้วยวิธีใหม่ๆ เทคนิกใหม่ๆ สื่อใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ออกแบบหลักสูตรใหม่ วัดผลแบบใหม่

แนวคิดพื้นฐาน

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล

2. ความพร้อม เด็กพร้อมน้อยพร้อมมาก ไม่เป็นอะไรจัดบทเรียนให้เหมาะสม

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา จัดเป็นหน่วยเวลาสอน

4. ประสิทธิภาพในการเรียน มีการขยายตัวทางวิชาการ การเปลี่ยนแปลงของสังคม

องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม

1. โครงสร้างองค์กร

บุคคลากร

กระบวนการ

กลยุทธ์และยุทธวิธี

เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา 3 ระดับ

1. ความเป็นเลิศของบุคคล

2. ความเป็นเลิศทางวิชาการ

3. ความเป็นเลิศขององค์กร

4. หลักนวัตกรรม

นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด เป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การมีประสิทธิภาพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับนวัตกรรม และยังต้องเผยแพร่ต่อบุคคลอื่น

กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา

1 ต้องสร้างความตระหนักถึงความจำเป็น

จุดประการนวัตกรรม โดยฝึกงานบ่อยๆ

การสร้างนวัตกรรม

การนำเอานวัตกรรมไปใช้

แนวโน้มและการใช้นวัตกรรมใหม่

แนวโน้มในอนาคต คือเริ่มจากการพัฒนาคนในองค์กรสถานศึกษาให้มีความรู้ แนวคิด สติปัญญา และจัดโครงสร้าง ออกแบบให้มีความสอดคล้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม โดยเริ่มตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับทีม ระดับองค์กร ริเริ่มให้คนในองค์กรมีความคิด เริ่มจินตนาการ

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา

หลังจากจบบทเรียนแล้วได้รับความรู้ในบทที่ 6 ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์

1. ความหมายของการเรียนการสอนบนเว็บ คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัย Internet โดยใช้ โปรโตคอล TCP/IP, HTTPS ในการถ่ายโอนข้อมูล โดยนำเสนอในสื่อที่เรียกว่า Hyper media ที่สามารถนำเสนอได้หลายมิติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถเรียนได้ ทำให้สามารถเรียนได้ในทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เพียงแค่เรียนผ่าน Internet

2. คุณสมบัติของการเรียนการสอนบนเว็บ คือการที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตัวเองได้ โดยเราสามารถเลือกหาบทเรียนที่ตนจะเรียนในรูปแบบ ไฮเปอร์มีเดีย ซึ่งเป็นเทคนิกในการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาหลักและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันหรืออาจจะเป็นภาพหรือเสียงที่เกี่ยวข้อง และคุณสมบัติการเรียนการสอนบนเว็บเราสามารถ ติดต่อกับผู้สอนโดยที่ไม่ต้องอยู่ในเวลาเดียวกัน เช่นอาจโพสคำถามตามกระทู้ เพื่อให้ผู้สอนเข้ามาตอบ

บทเรียนออนไลน์

เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะเป็นลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต สัญญาณดาวเทียม ฯลฯ

โมบายเลิร์นนิ่ง

เป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning คือเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย m-learning คือการศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์ไร้สาย เช่น มือถือ เน้นกิจกรรมที่เป็นกลุ่ม เช่น ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและครูผู้สอน สามารถส่งเป็นข้อมูล เสียง ภาพ มัลติมีเดีย ฯลฯ

สวนดุสิตอินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง

เป็นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย บริการเผยแพร่ความรู้ และให้บริการวิชาการสู่สังคม

ห้องสมุดเสมือน

ทำขึ้นมาเพื่อทำให้การสืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ประโยชน์ในการสอน ทั้งยังเป็นแหล่งความรู้เพื่อที่นักศึกษาจะได้หาได้ด้วยตนเอง เพื่อในการหาความรู้ ทำรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น